วิสัยทัศน์ "ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สู่วิถีตำบลพอเพียง" "เล่าสู่ ตำนานวังตะกอ" ในสมัยก่อน มีกลุ่มชน กลุ่มบุคคล รวมตัวกันเป็นชุมชน ตั้งอยู่ ณ ริมแม่น้ำหลังสวน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญและสายหลักของเมืองหลังสวน แม่น้ำเป็นหัวใจของการทำมาหากิน การค้าขาย การแลกเปลี่ยนสิ้นค้าระหว่ากันจึงเกิดชุมชนกลุ่มหนึ่ง รวมตัวกันจัดตั้งเป็นชุมชนน มีผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมากอาศัยแม่น้ำหลังสวนเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าและแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน ชาวเรือส่วนมากที่ได้ผ่านไปมาทางน้ำจะแวะพักค้างคือนและจอดเรือตามริมฝั่งที่มีน้ำลึกๆ เรียกตามภาษาถิ่นว่า " วัง" และบริเวณ "วัง" มีต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นไม้ยืนต้นเปลือกของผลจะมีลักษณะเป็นหนามห่อหุ้มรอบๆ เมล็ด เรียกว่า " ต้นกอ" ขึ้นบริเวณริมแม่น้ำที่เป็นวังน้ำวน มีกิ่งก้านใบปกคลุมบริเวณ "วังน้ำวน" ให้ความร่มรื่นเป็นที่กำบังแสงแดดได้เป็นอย่างดี ทำให้ชาวเรือนิยมมาจอดเรือบริเวณนี้กันมาก ทำให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็นชุมชนและท่าเรือสำหรับค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกันของชาวบ้านในท้องถิ่นและชาวเรือต่างถิ่น ทำให้ท่าเรือแห่งนี้เปรียบเสมือนตลาดน้ำแห่งหนึ่งในสมัยนั้น ซึ่งชาวเรือต่างๆ ที่ผ่านมาผ่านไปมักจะเรียกชุมชนนี้ว่า "วังกอ" หรือ "ตลาดวังกอ" คงจะนำคำว่า "วัง" และคำว่า "ต้นกอ" มารวมกันแล้วใช้เรียกกันจนติดปากว่า "วังต้นกอ" ต่อมาเรียกผิดเพี้ยนมาเป็น "วังตะกอ" จนถึงปัจจุบันนี้ ตามประวัติเมืองหลังสวนในสมัยนั้น ปี พ.ศ. ๒๔๒๐ โปรดเกล้าฯ และพระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้ง นายคอซิมเต็ก เป็นพระครูราชโภคากร เป็นผู้ว่าราชการเมืองหลังสวนและสมัยนั้นผู็คนในเมืองหลังสวนและชุมชน "ตลาดวังกอ" ได้รับความเดือดร้อนจากการปล้นสะดมของกลุ่มโจร อั้งยี่ (ยี่หินหัวควาย) ลักวัวลักควายของชาวบ้านและปล้นคนเชื้อสายจีนที่เข้ามา่ทำการค้าขายกับ " ตลาดวังตะกอ" ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านอย่างมาก สมัยต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์ุวรงศ์วรเดช ทรงนิพนธ์รายละเอียดของเมืองหลังสวน ไว้ในหนังสือ "ชีวิวัฒน์" ในตอนหนึ่งของหนังสือที่ได้กล่าวถึง "ตำบลวังตะกอ" ความว่า "ถึงขึ้นไปทางฝั่งเหนือถึงขาเล็กที่ตำบลวังตะกอเรียกว่า บ่อเงิน บ่อทอง ตีนเขาลงมาถึงน้ำเป็นศิลาแดงเวิ้งชะวาดที่ตรงหาดชะวาดน้ันน้ำเชี่ยว เวลาน้ำลดลึกประมาณ ๔-๕ วา ข้างใต้น้ำเรียกว่า บ่อทอง ชะวาด เหนือน้ำเรียกว่าบ่อเงิน" และต่อมาชุมชนตลาดวังตะกอ ได้เปลี่ยนแปลงตามสภาพธรรมชาติการปกครอง การคมนาคมจึงได้ย้ายตลาดวังตะกอไปที่ "ท่าต้นโด" บริเวณตลาดหลังสวนปัจจุบันและในเวลาเดียวกันนั้น วัดอยู่ทางทิศตะวันตกของตลาดวังตะกอ เรียกว่า "วัดลุ่ม" จึงได้ย้ายวัดและชุมชนมาตั้งในที่แห่งใหม่ คือชุมชนบ้านนอกไส หมู่ที่ ๓ ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อวัดหลายครั้งจนกรทั่งเปลี่ยนมาเป็น "วัดสมุหเขตตาราม" (วัดหัววัง) จนมาถึงปัจจุบัน
|